วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฏก

คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้  โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนา อย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด การศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมจะต้องอาศัยคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นแกนกลาง  เพราะมีการจดจำและบันทึกสืบ ๆ กันมา  ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่  จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, , , , , ๖ มาตามลำดับ
หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือการท่องจำสืบๆ กันมา (Oral Tradition)  ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงมีการจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.. ๔๕๐[1]   ในตอนต้นคือตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิได้เรียกว่าพระไตรปิฎก แต่เรียกว่า พระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง  สัตถุศาสน์ ฯลฯ แม้หลังพุทธปรินิพพาน ก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียกว่า พระธรรมวินัย  เช่นการสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนาพระธรรมวินัย  และได้เรียกว่า พระไตรปิฎกเมื่อ การสังคายนาครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด (หรือ ๓ ตระกร้า : ไตร แปลว่า สาม  ปิฎก แปลว่า ตระกร้า) จึงได้เรียกว่า พระไตรปิฎกตั้งแต่บัดนั้นมา คัมภีร์พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น  ๓  หมวด   คือ
พระวินัยปิฎก   ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยบทบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงห้ามแก่พระ พระภิกษุ  ภิกษุณี เรียกว่าพระวินัย
) พระสุตตันตปิฎก ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรง  แสดงแก่แก่บุคคลต่าง  ในสถานที่ต่าง ๆ   เรียกว่าพระสูตร
) พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยหลักธรรมที่ลึกซึ้ง ที่กล่าวถึงเรื่องปรมัตถ์  คือกล่าวถึงเรื่องจิต  เจตสิก   รูป  และนิพพาน  เรียกว่าพระอภิธรรม
การจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลานครั้งนั้น ถือเป็นคัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนาเถรวาทครั้งแรกที่เป็นลายลักษณ์อักษร [2]   และใช้เป็นคัมภีร์สำคัญของพุทธศาสนาเถรวาทสืบมาจนถึงปัจจุบัน
                พระไตรปิฎก  คือคัมภีร์ชั้นปฐมภูมิของพุทธศาสนาเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จารึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนาไว้  โดยแบ่งเป็นหมวดเป็นหมู่  ดังนี้
                พระวินัยปิฎก  บทบัญญัติและกฎเกณฑ์ที่บัญญัติให้พระภิกษุ และภิกษุณีปฏิบัติตาม  หากมีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษตามความผิดนั้น ๆ  มีโทษสถานหนัก  ปานกลาง  และอย่างเบา   พระวินัยแบ่งออกเป็น  ๕  หมวด  คือ
                    .  มหาวิภังค์  ว่าด้วยสิกขาบท(ศีล) ของพระภิกษุ  ๒๒๗  ข้อ  คือ ปาราชิก ๔สังฆาทิเสส  ๑๓อนิยต  ๒นิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐ปาจิตตีย์  ๙๒ปาฏิเทสนียะ ๔เสขิยวัตร ๗๕อธิกรณสมถ ๗  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทในปาติโมกข์ ( ภิกขุปาติโมกข์)
                   . ภิกขุณีวิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทของนางภิกษุณี หรือภิกขุนีปาติโมกข์ ๓๑๑  สิกขาบท 
                   . มหาวรรค เล่าเรื่องตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เสด็จออกไปประกาศพระศาสนา  การประทานอุปสมบทแก่ผู้มาขอบวช พูดถึงการอุปสมบท อุโบสถ การจำพรรษา เครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร  นิคหกรรม  การออกจากอาบัติ  การระงับอธิกรณ์  การทะเลาะวิวาท  และสามัคคี
                      . จุลวรรค ว่าด้วยการบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท  วัตรปฏิบัติต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์เรื่องกำเนิดและพัฒนาการของภิกษุณีสงฆ์ลงท้ายด้วยประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒
                    .  ปริวาร  ประมวลเรื่องเบ็ดเตล็ด  เกี่ยวกับสิกขาบทของภิกษุและภิกษุณี เป็นคู่มือศึกษาพระวินัย  นำเสนอโดยแต่งเป็นคำถามคำตอบเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

                พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร  เป็นคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่บุคคลต่างๆ หรือเทศนาของพระสาวก ที่แสดงไว้ประกอบด้วยบุคคล สถานที่  เวลา  ที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์นั้นๆ   พระสูตรแบ่งออกเป็น  ๕  หมวด  คือ
                  .  ทีฆนิกาย ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่มีเนื้อหาใจความยาวกว่านิกายอื่น  จัดเป็นหมวดหมู่เป็นเรื่องรวมเป็นนิกายแรก
                 .  มัชฌิมนิกาย ได้แก่คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตร ที่มีเนื้อหาใจความยาวขนาดกลาง ไม่สั้นหรือยาวเกินไป
                 . สังยุตตนิกาย  ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่มีเนื้อเรื่องประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่  เป็นเรื่องเทวดา  ก็มีชื่อว่า เทวตาสังยุตต์  คือประมวลเรื่องเทวดา  เรื่องเกี่ยวกับป่าก็เป็นวนสังยุตต์ เป็นต้น
                 . อังคุตตรนิกาย  ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรที่กล่าวถึงธรรมที่เป็นหมวดจำนวนน้อยขึ้นไปตามลำดับ เช่น  ธรรมข้อเดียวก็เป็นเอกนิบาตธรรม  ๒  ข้อ  ก็เรียกทุกนิบาต  เป็นต้น
                 .  ขุททกนิกาย  ได้แก่คัมภีร์หมวดที่รวบรวมพระสูตรเล็ก ๆ  น้อย ๆ นอกเหนือจากนิกายทั้ง  ๘  ดังกล่าวมาแล้วทั้งหมดมารวมเป็นหมวดหมู่ไว้ในขุททกนิกายนี้ [3]
            พระอภิธรรมปิฎก    กล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นธรรมะล้วน  และเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง   ไม่กล่าวถึงบุคคล  สถานที่  เวลา  สถานการณ์ใด ๆ    นอกจากธรรมะที่เป็นปรมัตถ์    พระอภิธรรมแบ่งออกเป็น  ๗  คัมภีร์  คือ
                    .  ธรรมสังคณี  ว่าด้วยการรวบรวมกลุ่มธรรมะ  คือจัดระเบียบธรรมต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่รวมเข้าเป็นหมวดหมู่  
                    .วิภังค์ ว่าด้วยการแยกแยะหรือวิเคราะห์ข้อธรรมที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ขันธ์ อายตนะ  ธาตุ  และอริยสัจ  เป็นต้น  แสดงให้เห็นรายละเอียดอย่างพิสดาร
                   .๓  ธาตุกถา  ว่าด้วยการจัดธรรมหรือสงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าเป็น ๑ ประเภท  คือ ขันธ์  อายตนะ ธาตุ  ว่าเข้ากันได้หรือไม่
                   .๔  ปุคคลบัญญัติ  ว่าด้วยการบัญญัติหรือกำหนดลักษณะบุคคลตามระดับคุณธรรมของบุคคลนั้น ๆ
                    .๕  กถาวัตถุ  ว่าด้วยเรื่องของถ้อยคำแถลงทรรศนะขัดแย้งของนิกายต่างๆ  ชี้ให้เห็นว่าทรรศนะที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร  โดยเน้นฝ่ายมติเถรวาทเป็นหลัก
                    .๖  ยมก ว่าด้วยการการจัดธรรมเป็นคู่ ๆ โดยการตั้งคำถามเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง
                    .๗  ปัฏฐาน  ว่าด้วยการอธิบายเงื่อนไขทางธรรมหรือปัจจัยทั้ง ๒๔  อย่างว่ามีธรรมข้อใดเป็นปัจจัยกันและกันบ้าง[4]

ประวัติการสังคายนาครั้งที่ ๑ 
ภายหลังเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว  ปรากฎว่ามีพระมหาสาวกที่สำคัญยังคงมีชีวิตอยู่หลายรูป เช่น พระมหากัสสปะ, พระอนุรุทธ, พระอุปวาณะ. พระจุนทกะ, พระควัมปติ, พระกุมารกัสสปะ, พระอานนท์, พระมหากัจจายนะ, พระอุเทนะ เป็นต้น  ในบรรดาพระสงฆ์ทั้งหมด คาดว่าพระมหากัสสปะเป็นพระที่มีอายุพรรษามากกว่ารูปอื่น ๆ   ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสงฆ์ ในคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก  เมื่อเสร็จงานการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วพระมหากัสสปะได้ปรารภแก่ที่ประชุมสงฆ์   ณ  เมืองกุสินารา  ถึงเรื่องการชำระสังคายนาพระธรรมวินัย  โดยอ้างเหตุ  ๓  ประการคือ
. พระมหากัสสปะได้ประสบกับเรื่องที่น่าสลดใจคือตอนที่ท่านกับคณะพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปพำนักอยู่ทีเมืองปาวา  เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๗ วัน  ก็ได้ทราบข่าวนั้นจากปริพาชกคนหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายต่างแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา  ท่านที่เป็นพระอริยบุคคลก็มีสติอดกลั้นและปลงสังขารได้  ส่วนพระที่เป็นปุถุชนต่างร้องให้คร่ำครวญประการต่าง ๆ  ขณะนั้นได้มีพระภิกษุเฒ่ารูปหนึ่ง ชื่อว่าพระสุภัททะ กล่าวถ้อยคำที่เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนาด้วยถ้อยคำว่า  พวกเราพ้นจากสมณะนั้นแล้ว  เพราะเมื่อก่อนท่านได้เบียดเบียนเรา ด้วยการตักเตือนว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย  บัดนี้พวกเราสบายแล้ว  จะทำอะไรก็ได้  ไม่ทำอะไรก็ได้”  คำพูดของพระสุภัททะเฒ่า ถือว่าเป็นการกล่าวจ้วงจาบต่อพระศาสนาอย่างรุนแรง  ขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัย
. เพราะพระพุทธดำรัสที่รับสั่งแก่พระอานนท์เถระเจ้าว่าพระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ในกาลที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว
เพราะรำลึกถึงพระคุณของพระศาสดา
ในการสังคายนาครั้งนั้น พระมหากัสสปะคัดเลือกเฉพาะแต่พระอรหันต์ที่ได้ปฏิสัมภิทาและอภิญญาเท่านั้น  โดยมีพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน  ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา  เมืองราชคฤห์  แคว้นมคธ  โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธถวายความอุปถัมภ์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธานในการสังคายนา  มีพระอุบาลีตอบคำถามทางพระวินัย  พระอานนท์ตอบคำถามทางพระธรรม  โดยมีขั้นตอนการสังคายนา ดังนี้
ขั้นแรก สงฆ์แต่งตั้งหน้าที่ให้กับพระมหากัสสปะเป็นผู้ซักถาม  ให้พระอุบาลีและพระอานนท์เป็นผู้ตอบคำถาม  จากนั้นพระมหากัสสปะสอบถามพระวินัยแต่ละข้อกับพระอุบาลี  เมื่อพระอุบาลีตอบไปตามลำดับแล้ว  พระสงฆ์ที่ประชุมกันก็จะสวดพระวินัยข้อนั้นๆ พร้อมกัน  เมื่อสวดได้ตรงกันไม่ผิดพลาดแล้ว  สงฆ์ก็รับว่าถูกต้อง แล้วจึงถามข้ออื่น ๆ ต่อไป  ส่วนพระธรรมก็เช่นเดียวกัน  มีพระอานนท์เป็นผู้ตอบ
ในการสังคายนาครั้งนี้  ใช้เวลานานถึง ๗ เดือน  จึงเสร็จ  หลังจากเสร็จการสังคายนาแล้ว  พระอานนท์ได้แจ้งให้สงฆ์ทราบว่า  พระพุทธเจ้ารับสั่งว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว  จะพึงถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้  เมื่อสงฆ์ต้องการ  (อากงฺขมาโน  อานนฺท  สงฺโฆ  มมจฺจเยน  ขุทฺทานุขุทฺทกานิ  สิกฺขาปทานิ  สมูหนตุ แต่พระอานนท์มิได้ทูลถามว่าสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นมีอะไรบ้าง  สงฆ์ตำหนิพระอานนท์ที่ไม่ทูลถาม  สงฆ์จึงไม่อาจหาข้อยุติได้ว่า สิกขาบทเล็กน้อยนั้นคืออะไรบ้าง  พระมหากัสสปะจึงได้เสนอความคิดเห็นในที่ประชุมว่า
- สิกขาบททั้งหลายบางอย่างที่เกี่ยวกับชาวบ้าน  ชาวบ้านย่อมทราบว่าอะไรควร หรือไม่ควร  สำหรับสมณศากยบุตรทั้งหลาย
- หากจะถอนสิกขาบทบางข้อ ชาวบ้านจะตำหนิว่าพวกเราศึกษาและปฏิบัติตามสิกขาบททั้งหลาย  ในขณะที่พระศาสดาทรงพระพระชนม์อยู่เท่านั้น พอพระศาสดาปรินิพพานก็ไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติ
- ขอให้สงฆ์ทั้งปวงอย่าได้เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้  และอย่าได้บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้  สมาทานศึกษาตามที่ทรงบัญญัติไว้เท่านั้น[5]
เมื่อสิ้นคำประกาศของพระมหากัสสปะแล้ว  ปรากฏว่าที่ประชุมเห็นพ้องด้วย  จึงเป็นอันถือว่าแต่กาลบัดนั้นเป็นต้นไป    คณะสงฆ์ ( ที่เห็นด้วยกับพระมหากัสสปะจะไม่เพิกถอนสิกขาบทแม้สักเล็กน้อยเลย คณะสงฆ์คณะนี้จึงได้ปรากฏนามสืบต่อมาว่า คณะเถรวาท หรือสถวีรวาท  หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า วินัยวาที
จากพุทธดำรัสที่ตรัสอนุญาตให้สงฆ์สามารถเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ดังกล่าว  จึงทำให้มีการตีความกันไปต่างๆ ในหมู่สงฆ์ที่ไม่เห็นด้วยกับมติสงฆ์ในการสังคายนาครั้งที่ ๑  และถือเอาตามพระพุทธดำรัสดังกล่าว อันจะเพิกถอนสิกขาบทได้ในภายหลัง  อันเป็นจุดหนึ่งของการแตกแยกนิกาย
เมื่อสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑  สงฆ์ได้ใช้ภาษาบาลีหรือภาษามคธ เป็นภาษาในพระไตรปิฎก  คงเป็นเพราะเหตุผล  ๒ ประการ  คือ
                (เพราะการสังคายนาทำกันในแคว้นมคธ
                () ภาษามคธ ในสมัยนั้น เป็นภาษาที่มีอิทธิพลกว้างขวาง  และถือว่าพระพุทธองค์ก็ตรัสภาษาบาลีในการประกาศศาสนาด้วย จึงใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในการจารึกพระไตรปิฎกเมื่อ พ.. ๔๕๐  ที่ประเทศศรีลังกา  ฝ่ายเถรวาทจึงใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาหลัก  เพราะถือว่าเป็นภาษาที่มีแบบแผน (ตันติภาษา) สามารถรักษาพระพุทธพจน์ไว้มิให้คลาดเคลื่อนส่วนทางฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ใช้ในการจารึกพระไตรปิฎก
ประวัติการสังคายนาครั้งที่ ๒
หลังพุทธปรินิพพานได้ประมาณ ๑๐๐ ปี ได้มีพระภิกษุชาววัชชี  ซึ่งจำพรรษาอยู่ในเมืองไวศาลี  ได้ประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการ  โดยอ้างเหตุผลว่า  พระพุทธองค์ทรงตรัสอนุญาตให้เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้  จึงเพิกถอนสิกขาบท ๑๐ ข้อ คือ
. ห้ามภิกษุรับเองหรือให้ผู้อื่นรับซึ่งทองและเงินหรือยินดีในทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ห้ามฉันโภชนาหารที่ไม่ได้ทำวินัยกรรมไว้ก่อนเมื่อไปในละแวกบ้าน
ห้ามฉันของเคี้ยวของฉันในยามวิกาล
ห้ามเอาเกลือที่เก็บสะสมไว้ในเขาสัตว์ปนกับของฉันที่เป็นอาหาร
ห้ามฉันน้ำหมักอันมีสีน้ำแดง  ดั่งเท้านกพิราบ  แต่ยังไม่เป็นสุราน้ำเมา
ห้ามฉันโครสห้าอย่างในเวลาวิกาล
. ห้ามทำอุโบสถสังฆกรรมแก่ภิกษุผู้มาภายหลัง  ซึ่งได้เริ่มทำอุโบสถกรรมไปแล้ว หรือลุกไปเสียระหว่างกลางคัน
ห้ามทำอุโบสถกรรมต่างกันในอารามใหญ่มีเสมาแดนเดียวกัน
ห้ามใช้สันถัดอันไม่ได้ประมาณกำหนด ( คือผ้ารองนั่ง)
๑๐. ห้ามปฏิบัติตามพระอุปัชฌายจารย์ในขนบธรรมเนียมสืบกันมา
สิกขาบททั้ง ๑๐ ข้อนี้  พระภิกษุชาววัชชี  ล่วงละเมิดมานานแล้ว  ด้วยตกลงว่าเพิกถอนไปแล้ว  ชาวบ้านที่นั่นก็ยอมรับ  จึงมีการถวายเงินทองแก่พระภิกษุสงฆ์ได้ 
ต่อมาพระอรหันต์รูปหนึ่งชื่อว่าพระยสกากัณฑบุตร ชาวเมืองโกสัมพี ได้เดินทางไปยังเมืองไวศาลี  ได้เห็นพฤติกรรมของพระภิกษุชาววัชชีนำถาดมารับบริจาคเงินทองจากญาติโยม แล้วน้ำมาแบ่งกัน พระยสกากัณฑบุตรพยายามอธิบายให้ญาติโยมฟังจนเข้าใจตามพระวินัย  แต่สร้างความไม่พอใจให้กับพระภิกษุชาววัชชีเป็นอย่างมาก  ท่านเห็นว่าถ้าหากปล่อยไว้จะเกิดปัญหาภายหลัง โดยปรึกษาหาทางแก้ไขกับคณะสงฆ์    ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา ๖๐ รูป  จากแคว้นอวันตี และทักษิณาบถ  ๘๐ รูป   ได้ไปประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและพระยสกากัณฑบุตร ณ อโหคังคบรรพต  มีมติว่าต้องมีการชำระให้เรียบร้อย  โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่ชำนาญในพระวินัยเป็นผู้ตัดสิน พระเรวตะวินิจฉัยว่า  การกระทำของพระภิกษุชาววัชชีนั้นผิดทุกข้อ  จึงตกลงร่วมกันจะจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้น
ฝ่ายพระวัชชีบุตรทราบข่าวการจัดการสังคายนา  จึงวิ่งเต้นหาเสียงเพื่อสนับสนุนฝ่ายตน  เพื่อให้มีเสียงชนะในที่ประชุม  โดยการให้สินบนแก่พระรูปอื่น ๆ และเข้าไปหาพระเรวตะ  เพื่อขอร้องให้สนับสนุน  แต่พระเรวตะไม่ยินยอม  พระวัชชีจึงเข้าไปเฝ้าทูลเท็จพระเจ้ากาฬาโศก  ว่ามีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งจะแย่งวัดของพวกตน  ตอนแรกทรงหลงเชื่อ  แต่ตอนหลังทรงทราบเรื่องดี  จึงทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การสังคายนาชำระอธิกรณ์ครั้งนี้
การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สองจึงได้เริ่มขึ้น พระสงฆ์ทั้งสองฝ่ายมาประชุมกัน มีการยกเอาวัตถุ ๑๐ ประการ (สิกขาบท) มาถามทีละข้อจนจบ  ผลปรากฏว่าสงฆ์ตัดสินว่า วัตถุ ๑๐ ประการนั้นผิดวินัย โดยเสียงเป็นเอกฉันท์
จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงได้เริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบปฐมสังคายนา  การกระทำการสังคายนาครั้งนี้  กระทำอยู่ ๘ เดือนจึงเสร็จ  มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๗๐๐ รูป
ต่อจากนั้น ได้มีการสังคายนาครั้งที่ ๓, , , ๖ ตามลำดับ และในการสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่ประเทศศรีลังกา  ได้ทำการจารึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เมื่อ พ.. ๔๕๐
คัมภีร์คือหนังสือที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนคลังแห่งความรู้ที่พุทธศาสนิกชนควรศึกษาทำความเข้าใจในคัมภีร์ต่างๆ  และคัมภีร์แต่ละเล่มนั้นมีคุณค่าทางด้านเนื้อหา  เพราะได้อธิบายคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้  โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของคัมภีร์เหล่านั้น   คัมภีร์ทางฝ่ายเถรวาทนั้น  มีลักษณะสำคัญคือเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาในพระไตรปิฎกเป็นต้นแบบ  ต่อมาก็มีการเขียนคัมภีร์ขึ้นเพื่ออธิบายคัมภีร์นั้นๆ ตามลำดับ  เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้งในเนื้อหามากขึ้น
*********************************




                9 บางแห่งว่า  พ.๔๓๓
                10 เหตุผลของการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเกรงว่าการถ่ายทอดโดยระบบท่องจำอาจจะเกิดความคลาดเลื่อนได้  เนื่องจากความจำของบุคคลลดลง 
[3] ลิ ขิต  ลิขิตานนท์วรรณคดีพุทธศาสนา  ( เอกสารโรเนียว  ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2530) หน้า  6 - 7
[4] แสง  จันทร์งาม, . และคณะพระไตรปิฎกสำหรับพระนวกะและพุทธศาสนิกชนทั่วไป  เล่ม 9  ( กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2539 ) หน้า 3
[5] พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ  ฐิตญาโณ). ประวัติพระพุทธศาสนา. .. 2536, หน้า 128.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น